เข้าสู่ระบบ Username : Password :  
เมนูหลัก
หน้าหลัก
สมัครสมาชิกผู้ส่งบทความ
เกี่ยวกับวารสาร
Publication Ethic
Call for paper
รูปแบบการเขียนบทความ
เอกสาร Downloads
คณะกรรมการ
ติดต่อสอบถาม
คู่มือผู้ส่งบทความ
 
รวมวารสารฉบับเก่า
วารสารปีที่ 4 ฉบับที่ 2
วารสารปีที่ 5 ฉบับที่ 1
วารสารปีที่ 5 ฉบับที่ 2
วารสารปีที่ 6 ฉบับที่ 1
วารสารปีที่ 6 ฉบับที่ 2
วารสารปีที่ 6 ฉบับที่ 2
วารสารปีที่ 7 ฉบับที่ 1
วารสารปีที่ 7 ฉบับที่ 2
วารสารปีที่ 7 ฉบับที่ 3
วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 1
วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 2
วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 3
วารสารปีที่ 9 ฉบับที่ 1
วารสารปีที่ 9 ฉบับที่ 2

 

รูปแบบส่งบทความเพื่อการตีพิมพ์

การเตรียมต้นฉบับ

         ต้นฉบับให้ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น ในกรณีเป็นภาษาไทยควรแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้ได้มากที่สุด ยกเว้นคำศัพท์เฉพาะที่แปลแล้วสร้างความสับสน ไม่ชัดเจน ในกรณีเป็นภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ก่อนส่งกองบรรณาธิการ ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อ หากจำเป็นต้องใช้คำย่อให้เขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน

เนื้อหาต้นฉบับให้ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSKทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษขนาด A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษขอบบน (top) 1 นิ้ว ขอบล่าง (bottom) 1 นิ้ว ขอบซ้าย (left) 1 นิ้ว ขอบขวา (right) 1 นิ้ว จำนวนหน้าของต้นฉบับควรอยู่ระหว่าง 7-14 หน้า (ใส่เลขหน้าทุกหน้า) โดยมีลำดับหัวข้อดังนี้

  1. ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ขนาด 22 pt. และภาษาอังกฤษ ขนาด 20 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  2. ชื่อผู้นิพนธ์ เรียงตามลำดับหากเกิน 6 คน ให้เขียนเฉพาะชื่อคนแรกและต่อท้ายด้วย ‘และ คณะ’ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษขนาด 18 pt. ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อเรื่อง ท้ายสกุลของผู้นิพนธ์ให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน * กำหนดเป็นตัวยก ขนาด 18 pt.
  3. ชื่อหน่วยงานหรือสังกัดของผู้นิพนธ์ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษขนาด 14pt. ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อผู้นิพนธ์ ด้านหน้าหน่วยงานหรือสังกัดให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน * กำหนดเป็นตัวยก ขนาด 14 pt.
  4. ชื่อผู้นิพนธ์หลัก ภาษาอังกฤษขนาด 14 pt. ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อหน่วยงานหรือสังกัด ส่วนแรกระบุ “ Corresponding Author: ” ชนิดตัวหนา ตามด้วยชื่อผู้นิพนธ์หลัก ด้วยอักษรชนิดตัวธรรมดา บรรทัดถัดมาระบุข้อความ “ อีเมล: ” หรือ “ E-mail: ” ชนิดตัวหนา ตามด้วย e-mail ของผู้นิพนธ์หลัก ด้วยอักษรชนิดตัวธรรมดา
  5. บทคัดย่อ (Abstract)เขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่องใช้ภาษากระชับรัดกุม และควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง ชนิดของเครื่องมือ คุณภาพของเครื่องมือ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล และข้อค้นหาที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ความยาวไม่เกิน 300 คำ บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ต้องมีเนื้อหาตรงกัน;หัวข้อขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ เนื้อหาบทคัดย่อขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
  6. คำสำคัญ(Keywords) หัวข้อระบุ “ คำสำคัญ: ” และ “ Keywords: ” ขนาด 15 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้บทคัดย่อของแต่ละภาษา เนื้อหาขนาด 15 pt. แต่ละชุดมีจำนวนคำ 3-5 คำ เว้นระหว่างคำด้วยเครื่องหมายจุลภาค “ , ”
  7. บทนำเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ปัญหาวิจัย โดยสรุปความเป็นมาให้เห็นปัญหาการวิจัยและความสำคัญของปัญหา มีการอ้างอิงเนื้อหาสนับสนุนความสำคัญ และเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การวิจัย; หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  8. วัตถุประสงค์การวิจัย ชี้แจงจุดมุ่งหมายในการศึกษา; หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  9. สมมติฐานการวิจัย(ถ้ามี) หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  10. กรอบแนวคิดในการวิจัย (ถ้ามี) อาจเขียนในรูปกรอบทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดที่ชี้แจงความเชื่อมโยงของตัวแปรต้น ตัวแปรแทรกซ้อน (ถ้ามี) และตัวแปรตาม; หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  11. วิธีดำเนินการวิจัยระบุถึงประชากร และกลุ่มตัวอย่าง (วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่าง) แบบแผนการวิจัย (กรณีเป็นวิจัยทดลอง) เครื่องมือการวิจัย การเก็บรวมรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล; หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  12. ผลการวิจัย นำเสนอข้อมูลตามวัตถุประสงค์ อาจแสดงด้วยตาราง กราฟ หรือแผนภาพ พร้อมแสดงการวิเคราะห์และอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วนอย่างสั้นๆ ทั้งนี้ถ้าแสดงด้วยตาราง ควรเป็นตารางแบบไม่มีเส้นขอบตารางด้านซ้ายและขวา หัวตารางแบบธรรมดาไม่มีสี; หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  13. สรุปและอภิปรายผลการวิจัยให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ และอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่; หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  14. ข้อเสนอแนะต้องเป็นข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยที่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง แบ่งเป็นข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป; หัวข้อหลักใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย หัวข้อย่อยใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวหนา เว้น 1 Tabจากขอบการดาษซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา
  15. บรรณานุกรมให้อ้างอิงตามหลักเกณฑ์ระบบ APA (American PsychologicalAssociation) ตำแหน่งชื่อผู้เขียนชิดขอบด้านซ้าย หากยาวเกิน 1 บรรทัด ให้บรรทัดถัดไปเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษซ้าย อ้างอิงเฉพาะที่กล่าวถึงในบทความ หากการอ้างอิงผู้นิพนธ์ได้แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษให้ใส่อ้างอิงภาษาไทยกำกับไว้ด้วย เพื่อให้กองบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องได้;หัวข้อใช้ขนาด 18 pt. ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนเนื้อหาใช้ขนาด 16 pt. ชนิดตัวธรรมดา

 

การส่งบทความ

ให้ส่งไฟล์เอกสารเป็นไฟล์สกุล .doc และ .pdf พร้อมทั้งกรอกข้อมูลลงในแบบส่งบทความลงตีพิมพ์ มาที่เว็บไซต์ http://ejs.bsru.ac.th/gradjournal/ หรือ อีเมล bsru01grad@gmail.com หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามมาที่เบอร์โทร 02-473-7000 ต่อ 1811 หรือ 1814

 

โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลบทความวิจัย และบทความวิชาการ
© 2016 Computer Science Program, Faculty of Science and Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. All Right Reserved.
Developed by Warut Ploysuayngam.